คำว่างบดุลฟังดูเป็นภาษาทางการของนักบัญชีเล็กน้อย แต่จริงๆแล้วมันเป็นเรื่องง่ายๆที่สามารถจัดการด้วยดินสอหนึ่งแท่งกับกระดาษเปล่าหนึ่งใบ ขั้นตอนทั้งการลงมือกับการทำความเข้าใจก็ไม่ยาก ไม่จำเป็นด้วยว่าคุณจะต้องเป็นนักธุรกิจใหญ่โตหรือธุรกิจ SME ทั่วๆไป คนธรรมดาก็สามารถทำได้ และมีประโยชน์อย่างมากกับตัวเองด้วยครับ
การทำเอกสารงบดุลนั้นเป็นรูปแบบของการทำรายงานที่กรมสรรพากรและกรมการพัฒนาธุรกิจการค้า กำหนดไว้เป็นข้อบังคับสำหรับผู้ประกอบกิจการ ว่าต้องทำอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำบ่อยกว่านั้นไม่ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับเจ้าของธุรกิจ เพราะการทำนี้ไม่ได้หมายความว่าภาครัฐจะได้ผลประโยชน์ทางตรงจากกิจการของคุณ แต่ก็เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจได้เห็นบัญชีของตัวเอง ได้เห็นสรุปว่าที่ผ่านมาดีหรือไม่ ควรพัฒนาหรือปรับปรุงอย่างไรมากกว่า
‘งบดุล’ หรือ ‘Balance Sheet’ ในภาษาอังกฤษคือรายงานเกี่ยวกับการเงินของธุรกิจหรือบุคคล เป็นการดูตัวเลขรวมๆในส่วนของบัญชี แม้จะดูมีไว้สำหรับการทำกิจการมากกว่าการทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่วนตัว แต่ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ด้วยกันได้ ลองมาดูกันก่อนว่าเอกสารการเงินนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง
สินทรัพย์
- สินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์หมุนเวียนในที่นี้คือทุกสิ่งที่มีมูลค่า สามารถใช้งานในธุรกิจได้(หรือหมุนเงินได้)อย่าง เงินสด, ลูกหนี้, สินค้าหรือหลักทรัพย์ที่ตลาดต้องการ เป็นต้น
- สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน สำหรับของที่มีคุณค่าแต่หมุนเวียนไม่ได้ก็มีหลากหลาย เช่น เงินลงทุนระยะยาว, ที่ดิน อาคาร หรือของใช้ที่จำเป็นในการประกอบกิจการ รวมถึงสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ด้วย
หนี้สิน
- หนี้สินหมุนเวียน หนี้ที่หมุนเวียนได้หมายถึงหนี้ที่ต้องชำระในระยะเวลาสั้นๆ แต่ละที่ก็จะมีกำหนดเวลาแตกต่างกัน ตั้งแต่ 1 เดือนไปจนถึง 12 เดือน สำหรับคนทั่วไป หนี้สินหมุนเวียนจะเป็นพวกการติดหนี้ส่วนบุคคล หรือภาษีเงินได้ประจำปีเป็นต้น
- หนี้สินไม่หมุนเวียน คือภาระที่มีระยะชำระนานกว่า 1 ปี ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบทันที แต่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นสินเชื่อธนาคาร การผ่อนชำระสินค้าต่างๆ
เจ้าของ/ผู้ถือหุ้น
เงินทุนหรือเงินต้น ก็สามารถเรียกในส่วนนี้ได้เช่นเดียวกัน เจ้าของและผู้ถือหุ้นนำเงินมาลงทุนเท่าไหร่ สำหรับคนปรกติก็อาจจะกำหนดเป็นเงินเดือนประจำหรือเงินส่วนตัวที่จะแยกออกมาทำบัญชีเอาไว้ก็ได้
การที่ต้องแยกผู้ถือหุ้นออกมาก็เพื่อแจกแจงให้เห็นได้ชัดเจนว่าใครมีเงินอยู่ในธุรกิจเท่าไหร่
องค์ประกอบของเอกสารบัญชีงบดุลนั้นประกอบไปด้วยปัจจัยสามอย่างเพียงเท่านั้น สินทรัพย์ หนี้สิน และเจ้าของ ซึ่งเปรียบเทียบกับการทำบัญชีส่วนบุคคลก็คือ รายได้ รายจ่าย และเงินต้นนั่นเอง เพียงแต่การทำออกมาในรูปแบบของ งบดุล จะทำให้เห็นได้ชัด และเป็นระเบียบมากกว่าการทำบัญชีด้วยตัวเองโดยไม่มีหลักการหรือหน้าตาที่ชัดเจน การทำงบดุลแบ่งออกได้เป็นสองแบบได้แก่
- แบบบัญชี (Accounting) เป็นการเขียนแบบแบ่งด้านซ้ายด้านขวา เพื่อให้เห็นรายละเอียดที่ชัดเจน โดยแบ่ง สินทรัพย์ไว้ทางด้านซ้าย หนิ้สินตามด้วยเจ้าของ/ผู้ถือหุ้นทางด้านขวา และสรุปยอดรวมของทั้งสองด้านไว้ด้านล่าง รูปแบบนี้จะเหมาะกับการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ส่วนบุคคลมากกว่า เพราะเห็นชัด ดูง่าย และเมื่อเปรียบเทียบกันเดือนต่อเดือนจะเห็นได้ชัดว่ามีส่วนต่างตรงไหน
2. แบบรำยงำน (Report) เหมำะแกก่ำรท ำตัวธุรกิจ โดยจะไล่ล ำดับจำกบนไปล่ำง เริ่มจำก สินทรัพย์ทั้งหมดตำมด้วยสรปุยอด ถัดมำจึงเปน็หนี้สนิและเจ้ำของ/ผู้ถือหุ้นและกำรรวมยอด กำรท ำ งบดุลรูปแบบนี้จะเห็นผลสรปุของแต่ละเดือนได้ด ีแม้จะดูล ำบำก แต่ผลสรุป (กำรรวมยอด) จะ เปรียบเทียบได้ชัดเจน เหมำะกับกำรท ำธุรกิจมำกกว่ำ โดยเฉพำะกับกิจกำรที่มีผลประกอบกำรคงที่
การทำบัญชีเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ทุกคน ไม่ว่าจะช่วยในการออมทรัพย์หรือกำหนดวินัยเพื่ออนาคต เมื่อคุณสามารถดูแลการเงินของตัวเองได้ดี การทำธุรกิจภายภาคหน้าก็จะไม่ใช่ปัญหา อย่าคิดแต่ว่าเอกสารการเงินทุกอย่างเป็นหน้าที่ของนักบัญชี ทรัพย์สินของคุณ ธุรกิจของคุณ อนาคตของคุณ หากไม่ใช่คุณดูแล ใครจะดูแล?
อ่านบทความเกี่ยวกับประกันภัยเพิ่มเติมได้ที่ : Finance Rabbit << คลิก
ขอบคุณข้อมูลจาก และ รุปภาพประกอบ จาก : http://www.accountclub.net/
.